ป้ายกำกับ

18 กรกฎาคม 2551

ความขัดแย้ง..

ความขัดแย้ง..

ความขัดแย้ง คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกัน สิ่งที่ตรงข้ามความแตกต่างความไม่สัมพันธ์

ถ้ามนุษย์เรารับรู้ ถึงความแตกต่างที่มีอยู่ ดังนั้นความขัดแย้งก็ย่อมมีอยู่ (คถตา:มันเป็นเช่นนั้นเอง))นอกเหนือจากนั้น คำนิยามของความขัดแย้งจะรวมไปถึงความคิดที่ตรงข้ามกันแบบตกขอบ การใช้เล่ห์เพทุบาย การไม่ลงรอยกันซึ่งต้องใช้ความพยายามสูงในการควบคุม ความขัดแย้งที่เปิดเผยออกมาให้เห็น เช่น การขัดขืน การสไตรค์ การจลาจล สงคราม เป็นต้น



มีความคิดสำหรับหัวข้อนี้ หลายๆประการด้วยกันที่มีผลกระทบต่อองค์กร..



บางคนบอกว่าความขัดแย้ง ทำให้องค์กร แตกแยก ขาดความสามัคคี..

บางความคิดก็ว่า ความขัดแย้ง ก่อให้เกิด การสังสรรค์ และพัฒนา..

หลายคนกลับบอกว่า ความขัดแย้งก่อให้เกิดความสมดุลย์..



ครับ...ก็หลากหลายความคิด



สำหรับแนวคิดในเรื่องของความขัดแย้งนั้น Robbins(1998:12 -14) ได้แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ

1.แนวคิดแบบดั้งเดิม สรุปว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง เลวร้าย หน้าที่ของผู้บริหาร คือ การขจัดความขัดแย้ง ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้แก้ปัญหาความขัดแย้ง

2.แนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ สรุปว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งธรรมชาติหลีกเลี่ยงไม่ได้ มิใช่จะเกิดผลร้ายแรงต่อองค์การอย่างเดียว แต่อาจจะทำให้เกิดผลดีต่อองค์การด้วย หน้าที่ของผู้บริหาร คือ จัดระดับความขัดแย้ง กระตุ้นหรือยุติความขัดแย้ง เพื่อดำเนินการที่ดีกว่า และสมดุลย์

3.แนวความคิดด้านปฏิกิริยาสัมพันธ์ นับเป็นแนวคิดที่มองความขัดแย้งในแง่ดี สร้างสรรค์ คล้าย ๆ

กับแนวพฤติกรรมศาสตร์ที่มองว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็น ควรกระตุ้นให้เกิด การบริหารความขัดแย้งก็คือ การยอมรับว่าความขัดแย้ง การกระตุ้น การแก้ไข ..



การแก้ปัญหาความขัดแย้งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร และเพื่อให้การขัดแย้งนั้นนำไปสู่ความสมดุลย์ และพัฒนาองค์กรไปได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ.



...............................
นับว่าเป็น ปัญหาที่ค่อนข้างจะน่าหนักใจ สำหรับผู้บริหารมือใหม่ หลายๆคน
เพราะปัญหาในแต่ละองค์กรนั้น ย่อมมีปัญหาไม่เหมือนกัน
จะใช้สูตรสำเร็จมา แก้ปัญหานั้นอาจจะไม่ ประสบกับความสำเร็จได้เลย.

ไม่มีความคิดเห็น: